การเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์การก่อตัว พายุหมุนเขตร้อน และแนวโน้ม วันนี้ (27 ก.ย.67) JTWC รายงานการก่อตัวของ พายุหมุนเขตร้อน บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก คือ พายุดีเปรสชัน "ซีมารอน" CIMARON พายุโซนร้อน 19W และ หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง 97W พายุเหล่านี้ มีทิศทางจะเคลื่อนไปส่งผลต่อสภาพอากาศบริเวณประเทศญี่ปุ่น โดยไม่มีผลต่อสภาพอากาศของประเทศไทย
พายุซีมารอน (CIMARON) คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นไปทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับต่อไป
จะมีการก่อตัวของความกดอากาศต่ำ ที่ก่อตัวขึ้นมาใหม่บริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน คาดว่าจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุได้ฝุ่น และจะเคลื่อนตัวไปทางเกาะไต้หวัน ในขณะที่มีความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีน จะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ในวันที่ 30 ก.ย. 2567 และแผ่ลงมาต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทศมีฝนเพิ่มขึ้นในระยะแรกๆ หลังจากนั้นอากาศเย็นลง
แนวโน้มคาดการจากแบบจำลองการพยากรณ์ ECMWF และ GFS คาดว่าในช่วงประมาณ 30 ก.ย.-1 ต.ค. 2567 เกิดการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง บริเวณด้านเหนือฟิลิปปินส์ แนวโน้มจะทวีกำลังขึ้นเป็นพายุ และเคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือหรือไปบริเวณเกาะไต้หวัน ในขณะที่ มวลอากาศเย็น จะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน
พายุ นี้ไม่มีผลกระทบต่ออากาศของประเทศไทยโดยตรง ถึงแม้ว่าความกดออากาศสูง จะอ่อนกำลังลง พายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศจีนด้านตะวันออกมากขึ้น จะไม่เคลื่อนลงมาทางประเทศเวียดนาม และทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย หรือไม่พายุนี้ก็อาจจะอ่อนกำลังลงก่อนขึ้นฝั่ง จึงขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลการพยากรณ์อากาศในระยะนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดูกาลอากาศ อาจจะมีความแปรปรวนในบางวัน
นอกจากนี้ Climate Prediction Center (CPC) คาดว่าในช่วงต้นเดือนถึงกลางเดือน ต.ค. 2567 บริเวณประเทศไทยจะมีโอกาสเกิดฝนน้อยกว่าปกติ และยังไม่พบแนวโน้มเกิดการก่อตัวของ พายุหมุนเขตร้อน เคลื่อนเข้ามาใกล้ประเทศไทย